top of page

วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์องค์กรบริหารส่วนตำบลทับพริก

1. วิสัยทัศน์ (vision)

“ ทับพริกเข้มแข็ง  แหล่งเรียนรู้เชิงนิเวศน์ เขตการค้าชายแดน ”

2. ยุทธศาสตร์

                    ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

                   ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

                   ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านสังคม คุณภาพชีวิตและสาธารณสุข

                   ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และนันทนาการ

                   ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมการท่องเที่ยว

                   ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านบุคลากรและองค์กร

                   ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาเขตการค้าชายแดน

3. เป้าประสงค์

1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ได้รับมาตรฐานและครอบคลุม   ทุกพื้นที่

2. ประชาชนมีรายได้และมีทักษะความรู้ในการประกอบอาชีพ ดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและสังคมน่าอยู่

4. พัฒนาการศึกษาสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาและการเรียนรู้ที่หลากหลายต่อเนื่อง

5. อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ตลอดไป

6. ชุมชนมีความเข้มแข็ง ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น

7. แหล่งท่องเที่ยวภายในตำบลได้รับการพัฒนา ปรับปรุงและฟื้นฟู

8. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในตำบลได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู

9. องค์กรมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของประชาชน

4. ตัวชี้วัด

                   1. จำนวนถนน ไฟฟ้า ประปา แหล่งน้ำ ท่อระบายน้ำและลานกีฬาที่ได้รับการก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน

                   2. จำนวนเกษตรกรที่ได้รับการพัฒนาอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้น

                   3. ระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบลเพิ่มขึ้น

    4. ระบบการศึกษาได้รับการพัฒนาและคุณภาพมากขึ้น

                   5. ประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

                   6. จำนวนแหล่งท่องเที่ยวภายในตำบลที่ได้รับการพัฒนา

                   7. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในตำบลได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟูเพิ่มขึ้น

                   8. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการขององค์กร การตอบสนองความต้องการของประชาชน

                       เพิ่มขึ้น

                   9. จำนวนเกษตรกรที่ได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้เพิ่มขึ้น              

5. ค่าเป้าหมาย

1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ได้รับมาตรฐานและครอบคลุม   ทุกพื้นที่

2. ประชาชนมีรายได้และมีทักษะความรู้ในการประกอบอาชีพ ดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและสังคมน่าอยู่

4. พัฒนาการศึกษาสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาและการเรียนรู้ที่หลากหลายต่อเนื่อง

5. อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ตลอดไป

6. ชุมชนมีความเข้มแข็ง ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น

7. แหล่งท่องเที่ยวภายในตำบลได้รับการพัฒนา ปรับปรุงและฟื้นฟู

8. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในตำบลได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู

9. องค์กรมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของประชาชน

6. กลยุทธ์

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน  โดยมีแนวทางการพัฒนา  ดังนี้

1.      แนวทางการจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก  ทางน้ำ  ทางระบายน้ำ และการปรับปรุงดูแลรักษาในเขตตำบล

2.      แนวทางการพัฒนาการก่อสร้างฝาย ขุดลอกคลอง ขุดสระ พัฒนาแหล่งน้ำระบบประปาที่ได้มาตรฐาน

3.      แนวทางการพัฒนาการจัดให้มีแสงสว่างตามทางสาธารณะการขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตรหรือที่อยู่อาศัย

4.      แนวทางการพัฒนาการจัดให้มีสถานที่เพื่อนันทนาการ และการออกกำลังกายในชุมชน

ยุทธศาสตร์ที่  2 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ  โดยมีแนวทางการพัฒนา  ดังนี้

1.      แนวทางการพัฒนาส่งเสริมกลุ่มอาชีพ  และพัฒนาคุณภาพการผลิต

2.      แนวทางการพัฒนาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

3.      แนวทางการพัฒนาระบบความคิด ให้สอดคล้องกับภาวะโลกเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านสังคมคุณภาพชีวิตและสาธารณสุข โดยมีแนวทางการพัฒนา  ดังนี้

1.      แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดสวัสดิการชุมชนโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

2.      แนวทางการพัฒนาให้ประชาชนเข้าถึงการรับบริการด้านสาธารณสุขขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง  มีคุณภาพ

3.      แนวทางการพัฒนาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

4.      แนวทางการพัฒนาความมั่นคงของชาติและป้องกันแก่ไขปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม          

ยุทธศาสตร์ที่  4 การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และนันทนาการ  โดยมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้

1.      แนวทางการพัฒนาการจัดระบบการศึกษาให้มีคุณภาพทั่วถึงประชาชนสามารถเข้าถึงระบบการศึกษาทุกรูปแบบตามความสนใจหลักสูตรมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของแต่ละชุมชน

2.      แนวทางการพัฒนากิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาและประเพณีท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น

3.      แนวทางการพัฒนา กีฬา นันทนาการ กิจกรรมสำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชนต้องได้รับการส่งเสริม

4.      แนวทางการพัฒนาการส่งเสริมปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้กับเยาวชน และประชาชนทุกระดับ

ยุทธศาสตร์ที่  5 การพัฒนาด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้

1.      แนวทางการพัฒนากำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลที่ทำให้น้ำเสียในชุมชน

2.      แนวทางการพัฒนาการบำรุงรักษา การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ การใช้ประโยชน์จากป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติ

3.      แนวทางการพัฒนาสนับสนุนส่งเสริมให้มีการปรับปรุงและพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่มีอยู่แล้วให้เป็นที่รู้จักของประชาชน

ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านบุคลากรและองค์กร  โดยมีแนวพัฒนา ดังนี้

1.      แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพของบุคลากร

2.      แนวทางการพัฒนาศักยภาพขององค์กร

3.      แนวทางการพัฒนาการตรวจสอบองค์กรโดยประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในด้านต่างๆ

ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาเขตการค้าชายแดน  โดยมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้

แนวทางการพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและกระจายสินค้า

7. จุดยืนทางยุทธศาสตร์

          จุดยืนทางยุทธศาสตร์ในการวางแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลทับพริกซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง องค์การบริหารส่วนตำบลทับพริก จึงได้กำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) คือ เป็นตำบลแห่งความสุขภายใต้ 4 ดีวิถีพอเพียง

bottom of page